วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ก.พ. 2556
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565
โบจานา – คามารา – คัดยา
“ซีพีเอฟ กัลกัตตา” ยึดหลักการทำธุรกิจเช่นเดียวกับบริษัทแม่ คือ Feed – Farm – Food หรือ โบจานา – คามารา – คัดยา ในภาษาเบงกาลีซึ่งเป็นภาษาหลักที่ใช้ในกัลกัตตานั่นเอง การลงทุนในภูมิภาคอินเดียตะวันออกโดยใช้กัลกัตตาเป็นเบส มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับซีพีเอฟ อินเดีย
รู้จักซีพีเอฟ กัลกัตตา – ธุรกิจอาหารสัตว์บก
เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2555 ซีพีเอฟ กัลกัตตาได้เข้ามาบุกตลาดอินเดียตะวันออก โดยครอบคลุมรัฐเบงกอลตะวันตก พิหาร โอริสสา ฌาร์ขัณฑ์ สิกขิม และ 7 รัฐทางภาคตะวันออกเฉียงหนือ โดยเล็งเห็นถึงศักยภาพในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์บกของซีพีเอฟ กัลกัตตา แบ่งโมเดลธุรกิจออกเป็นสามอย่าง คือ Integration Feed Mill และ Breeder
1. Integration คือธุรกิจแบบครบวงจรทั้งด้านการผลิต การตลาดของไก่เนื้อ และไข่ไก่
2. Feed mill คือการทำโรงงานอาหารสัตว์ และ
3. Breeder คือการเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่เนื้อเพื่อผลิตลูกไก่ที่มีคุณภาพ
ความคืบหน้า
ขณะนี้ ซีพีเอฟ กัลกัตตาได้ดำเนินการตามนโยบาย โบจานา – คามารา – คัดยาโดยเริ่มทำโรงงานอาหารสัตว์ที่Bhanduwan district และซื้อที่ดินที่ Birbhum เพื่อทำฟาร์มพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่แล้ว และขณะนี้ธุรกิจอาหารสัตว์ก็กำลังไปด้วยดี ด้านไก่เนื้อก็ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากลูกค้าเนื่องจากเป็นไก่เนื้อที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด และในด้านไข่ไก่คุณภาพซีพีเอฟจะเริ่มโครงการผลิตในปีนี้ด้วย เคล็ดลับความสำเร็จก็อยู่ที่นำรูปแบบธุรกิจที่ดีและประสบความสำเร็จของประเทศไทยมาเป็นต้นแบบ และได้มีทีมงานซีพีเอฟคนไทยเราเข้ามารับหน้าที่เป็นโค้ชให้กับชาวอินเดียไม่ว่าจะเป็นการแนะนำให้ผู้เลี้ยงชาวอินเดียปฏิบัติตามวิธีการแบบซีพีเอฟ หรือการทำ contract farming กับเกษตรกรในพื้นที่
ปัญหาและอุปสรรค
หลายบริษัทในอินเดียมักประสบปัญหาการประท้วง การทะเลาะกันของ Union หรือสหภาพแรงงาน เช่น การประท้วงโรงงานก่อสร้างรถยนต์ Suzuki Maruti ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากถึงขั้นเผาโรงงาน แต่สำหรับ ซีพีเอฟ กัลกัตตา ไม่เป็นห่วงปัญหานี้เนื่องจากมีการประกาศใช้นโยบาย “3 Benefits” เช่นเดียวกับบริษัทแม่ นั่นคือ Country Benefit Company Benefit และ Employee Benefit ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เปรียบไม่ว่าอินเดียเองก็ได้ประโยชน์จากการลงทุน บริษัทซีพีเอฟ อินเดียที่มีคนอินเดียจำนวนมากอยู่ก็ได้ประโยชน์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งพนักงาน หรือแรงงานก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุข บริษัทก็เดินหน้าไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ สำหรับคนไทยเองก็ไม่มีปัญหาเรื่อง employment visa แต่อย่างใด เพราะสถานทูตและสถานกงสุลใหญ่อินเดีย รู้จักซีพีเป็นอย่างดี
ข้อได้เปรียบ
เมื่อเปรียบเทียบกับซีพีเอฟ ในยูนิตอื่นๆที่กระจายอยู่ในอินเดียกลับพบว่า ซีพีเอฟ กัลกัตตามีโอกาสทางธุรกิจสูงกว่าภูมิภาคอื่นเนื่องจากคนเบงกาลีในกัลกัตตามีเปอร์เซ็นต์เป็น Non-veg สูงถึง 85 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทำให้สัดส่วนในการบริโภคไก่ และไข่ มีโอกาสเติบโตสูง
แผนงานในอนาคต
ซีพีเอฟ กัลกัตตาตั้งเป้ายอดขายไว้ภายใน 5 ปีที่ ประมาณ 8,000 ล้านรูปี (หรือกว่า 4,200 ล้านบาท) ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่ทำให้ซีพีเอฟ กัลกัตตามั่นใจก็คือ คุณภาพของตัวสินค้า ตามมาตรฐานของซีพีเอฟ คือ เข้มงวดตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่ดี สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งซีพีเอฟมั่นใจ ที่ผลิตอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายทำให้ลูกค้าหรือเกษตรกร มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ ความพิเศษของซีพีเอฟ กัลกัตตาคือโครงการเลี้ยงสุกรเพื่อผลิตเนื้อสุกรที่สะอาดและมีคุณภาพ ซึ่งเป็นซีพีเอฟแห่งเดียวในอินเดียที่ตั้งเป้าจะเลี้ยงสุกรเพื่อจำหน่าย ถึงแม้ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ท้าทายกับความเชื่อด้านการบริโภคเนื้อสุกรของประชาชนในพื้นที่ว่าสุกรเป็นสัตว์ที่สกปรก แต่ซีพีเอฟมั่นใจว่าจะสามารถผลิตเนื้อสุกรที่มีคุณภาพเพื่อจำหน่ายได้อย่างแน่นอน และพร้อมที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า เนื้อสุกรมีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย ที่มีกระบวนการผลิตจากฟาร์มที่ทันสมัย โบจานา – คามารา – คัดยา
“ซีพีเอฟ กัลกัตตา” ยึดหลักการทำธุรกิจเช่นเดียวกับบริษัทแม่ คือ Feed – Farm – Food หรือ โบจานา – คามารา – คัดยา ในภาษาเบงกาลีซึ่งเป็นภาษาหลักที่ใช้ในกัลกัตตานั่นเอง การลงทุนในภูมิภาคอินเดียตะวันออกโดยใช้กัลกัตตาเป็นเบส มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับซีพีเอฟ อินเดีย
รู้จักซีพีเอฟ กัลกัตตา – ธุรกิจอาหารสัตว์บก
เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2555 ซีพีเอฟ กัลกัตตาได้เข้ามาบุกตลาดอินเดียตะวันออก โดยครอบคลุมรัฐเบงกอลตะวันตก พิหาร โอริสสา ฌาร์ขัณฑ์ สิกขิม และ 7 รัฐทางภาคตะวันออกเฉียงหนือ โดยเล็งเห็นถึงศักยภาพในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์บกของซีพีเอฟ กัลกัตตา แบ่งโมเดลธุรกิจออกเป็นสามอย่าง คือ Integration Feed Mill และ Breeder
1. Integration คือธุรกิจแบบครบวงจรทั้งด้านการผลิต การตลาดของไก่เนื้อ และไข่ไก่
2. Feed mill คือการทำโรงงานอาหารสัตว์ และ
3. Breeder คือการเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่เนื้อเพื่อผลิตลูกไก่ที่มีคุณภาพ
ความคืบหน้า
ขณะนี้ ซีพีเอฟ กัลกัตตาได้ดำเนินการตามนโยบาย โบจานา – คามารา – คัดยาโดยเริ่มทำโรงงานอาหารสัตว์ที่Bhanduwan district และซื้อที่ดินที่ Birbhum เพื่อทำฟาร์มพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่แล้ว และขณะนี้ธุรกิจอาหารสัตว์ก็กำลังไปด้วยดี ด้านไก่เนื้อก็ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากลูกค้าเนื่องจากเป็นไก่เนื้อที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด และในด้านไข่ไก่คุณภาพซีพีเอฟจะเริ่มโครงการผลิตในปีนี้ด้วย เคล็ดลับความสำเร็จก็อยู่ที่นำรูปแบบธุรกิจที่ดีและประสบความสำเร็จของประเทศไทยมาเป็นต้นแบบ และได้มีทีมงานซีพีเอฟคนไทยเราเข้ามารับหน้าที่เป็นโค้ชให้กับชาวอินเดียไม่ว่าจะเป็นการแนะนำให้ผู้เลี้ยงชาวอินเดียปฏิบัติตามวิธีการแบบซีพีเอฟ หรือการทำ contract farming กับเกษตรกรในพื้นที่
ปัญหาและอุปสรรค
หลายบริษัทในอินเดียมักประสบปัญหาการประท้วง การทะเลาะกันของ Union หรือสหภาพแรงงาน เช่น การประท้วงโรงงานก่อสร้างรถยนต์ Suzuki Maruti ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากถึงขั้นเผาโรงงาน แต่สำหรับ ซีพีเอฟ กัลกัตตา ไม่เป็นห่วงปัญหานี้เนื่องจากมีการประกาศใช้นโยบาย “3 Benefits” เช่นเดียวกับบริษัทแม่ นั่นคือ Country Benefit Company Benefit และ Employee Benefit ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เปรียบไม่ว่าอินเดียเองก็ได้ประโยชน์จากการลงทุน บริษัทซีพีเอฟ อินเดียที่มีคนอินเดียจำนวนมากอยู่ก็ได้ประโยชน์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งพนักงาน หรือแรงงานก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน ทำให้ทุกฝ่ายมีความสุข บริษัทก็เดินหน้าไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ สำหรับคนไทยเองก็ไม่มีปัญหาเรื่อง employment visa แต่อย่างใด เพราะสถานทูตและสถานกงสุลใหญ่อินเดีย รู้จักซีพีเป็นอย่างดี
ข้อได้เปรียบ
เมื่อเปรียบเทียบกับซีพีเอฟ ในยูนิตอื่นๆที่กระจายอยู่ในอินเดียกลับพบว่า ซีพีเอฟ กัลกัตตามีโอกาสทางธุรกิจสูงกว่าภูมิภาคอื่นเนื่องจากคนเบงกาลีในกัลกัตตามีเปอร์เซ็นต์เป็น Non-veg สูงถึง 85 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทำให้สัดส่วนในการบริโภคไก่ และไข่ มีโอกาสเติบโตสูง
แผนงานในอนาคต
ซีพีเอฟ กัลกัตตาตั้งเป้ายอดขายไว้ภายใน 5 ปีที่ ประมาณ 8,000 ล้านรูปี (หรือกว่า 4,200 ล้านบาท) ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่ทำให้ซีพีเอฟ กัลกัตตามั่นใจก็คือ คุณภาพของตัวสินค้า ตามมาตรฐานของซีพีเอฟ คือ เข้มงวดตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพที่ดี สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งซีพีเอฟมั่นใจ ที่ผลิตอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายทำให้ลูกค้าหรือเกษตรกร มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ ความพิเศษของซีพีเอฟ กัลกัตตาคือโครงการเลี้ยงสุกรเพื่อผลิตเนื้อสุกรที่สะอาดและมีคุณภาพ ซึ่งเป็นซีพีเอฟแห่งเดียวในอินเดียที่ตั้งเป้าจะเลี้ยงสุกรเพื่อจำหน่าย ถึงแม้ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ท้าทายกับความเชื่อด้านการบริโภคเนื้อสุกรของประชาชนในพื้นที่ว่าสุกรเป็นสัตว์ที่สกปรก แต่ซีพีเอฟมั่นใจว่าจะสามารถผลิตเนื้อสุกรที่มีคุณภาพเพื่อจำหน่ายได้อย่างแน่นอน และพร้อมที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า เนื้อสุกรมีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย ที่มีกระบวนการผลิตจากฟาร์มที่ทันสมัย